เมนู

ทราบความปรารถนาความฟุ้งซ่านในภายนอกโดยนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า เยหิ
คือด้วยอุปกิเลสเหล่าใด. บทว่า วิกมฺปมานสฺส ผู้หวั่นไหว คือผู้ฟุ้งซ่าน
ถึงความฟุ้งซ่าน.
บทว่า โน เจ จิตฺตํ วิมุจฺจติ ถ้าจิตไม่หลุดพ้น คือจิตไม่น้อมไป
ในอารมณ์อันเป็นอัสสาสปัสสาสะ และไม่หลุดพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก. พึง
ทราบการเชื่อมว่า จิตไม่หลุดพ้น และให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น. บทว่า วิโมกฺขํ
อปฺปชานนฺตา
ไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ คือผู้นั้นหรือผู้อื่นไม่รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ อัน
เป็นความพอใจแห่งอารมณ์ และซึ่งวิโมกข์อันเป็นความพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก
อย่างนี้. บทว่า ปรปตฺติยา คือมีคนอื่นเป็นปัจจัย เชื่อคนอื่น ไม่มีญาณ
ที่ประจักษ์แก่ตน เมื่อควรกล่าวว่า ปรปจฺจยิกา ท่านกล่าว ปรปตฺติยา.
ความอย่างเดียวกัน.
จบปฐมฉักกะ

ทุติยฉักกะ (ฉักกะที่ 2)


พึงทราบวินิจฉัยในทุติยฉักกะดังต่อไปนี้. บทว่า นิมิตฺตํ ที่สัมผัส
แห่งลมหายใจเข้าและหายใจออก. เพราะอัสสาสปัสสาสะกระทบดั้งจมูกของผู้
มีจมูกยาว กระทบริมฝีปากบนของผู้มีจมูกสั้น. ถ้าพระโยคาวจรนี้คำนึงถึง
นิมิตนั้น จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิตนั้น ย่อมกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหาย-
ใจเข้า คือไม่ตั้งอยู่ได้. เมื่อจิตของพระโยคาวจรนั้นไม่ตั้งอยู่ ความกวัดแกว่ง
นั้นเป็นอันตรายของสมาธิ เพราะไม่มีสมาธิ. หากว่า คำนึงถึงอัสสาสะอย่าง
เดียว จิตของพระโยคาวจรนั้นย่อมนำมาซึ่งความฟุ้งซ่านด้วยการเข้าไปในภาย